User:P. Bunruk/sandbox

From Wikipedia, the free encyclopedia

ผึ้งหลวง (Apis dorsata Fabr.)[edit]

ผึ้งหลวง (Apis dorsata Fabr.)
ผึ้งงานที่เกาะตามรวงรัง
Scientific classification
Kingdom:
Phylum:
Class:
Order:
Family:
Genus:
Subgenus:
(Megapis)
Species:
A. dorsata
Binomial name
Apis dorsata
Fabricius, 1793
Map showing the range of Apis dorsata
Range of Apis dorsata

บทนำ[edit]

ชีววิทยา[edit]

ผึ้งหลวง เป็นผึ้งชนิดหนึ่งที่มีขนาดตัวและรังใหญ่ที่สุด โดยลำตัวยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ลักษณะท้องเป็นปล้องสีเหลืองสลับดำ มีปีกแข็งแรง บินเร็ว มักพบอยู่ในป่าหรือตามชนบททั่วไป ซึ่งจะสร้างรังบนต้นไม้สูง หรือ ภายนอกอาคารบ้านเรือน ลักษณะรวงรังมีชั้นเดียว รูปครึ่งวงกลม ไม่มีที่ปกปิด ขนาดประมาณ 0.5-1 เมตร ลักษณะนิสัยของผึ้งหลวงจะดุและต่อยปวดกว่าผึ้งทุกชนิด เดือนเมษายนเป็นเดือนที่ผึ้งหลวงให้น้ำผึ้งดีที่สุด เรียกว่า น้ำผึ้งเดือนห้า[1]

ผึ้งหลวง มีรูปร่างลักษณะเช่นเดียวกับแมลงทั่วไป ตัวเต็มวัยมีโครงสร้างภายนอกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง

  • ส่วนหัว มีอวัยวะรับความรู้สึก ประกอบด้วย ตา หนวด และปาก
  • ส่วนอก มีอวัยวะในการเคลื่อนที่ คือ ปีกและขา
  • ส่วนท้อง มีอวัยวะขับถ่าย อวัยวะสืบพันธุ์ เหล็กใน ต่อมผลิตไขผึ้ง และต่อมผลิตเฟอโรโมนนาซานอฟ[2]
Apis dorsata บนต้น Tribulus terrestrisHyderabad, India

ความสำคัญ[edit]

ผึ้งหลวง เป็นแมลงพาหะสำคัญที่ช่วยในการผสมเกสรของดอกไม้ และการกระจายพันธุ์ของพืชดอกนานาชนิด รวมทั้งพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในภาคใต้ของไทย เช่น ดอกสะตอ เป็นต้น[3] เนื่องจากผึ้งหลวงมีพฤติกรรมการหากินที่สามารถบินได้ไกลกว่า 10 กิโลเมตร จึงสามารถช่วยให้เกิดการผสมข้ามต้น ลดภาวะความอ่อนแอของพันธุกรรมพืช จึงช่วยให้ป่าฟื้นคืนสภาพได้เร็วขึ้น เกิดพืชสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่พัฒนาปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมได้เสมอ[4] นอกจากนี้ ผึ้งหลวงยังให้น้ำผึ้ง ซึ่งใช้เป็นอาหาร รวมทั้งไขผึ้ง หรือ ขี้ผึ้ง ซึ่งใช้ทำเทียนเพื่อให้แสงสว่างอีกด้วย[5]

ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการ[edit]

มิชเนอร์ เสนอว่า ผึ้งที่มีระบบสังคมแท้ วิวัฒนาการมาจากพวกผึ้งที่ชอบอยู่เดี่ยวๆ โดยผึ้งตัวเมียจะดูแลตัวอ่อนระยะหนึ่งเท่านั้น แล้วจะแยกออกไปหากินอิสระก่อนที่ตัวอ่อนจะเจริญเป็นตัวเต็มวัย ต่อมาได้เกิดวิวัฒนาการขึ้นอีกระดับหนึ่ง คือ ผึ้งที่อยู่เดี่ยวๆเพศเมียหลายตัวอาศัยอยู่ร่วมกันเพื่อออกลูกในบริเวณเดียวกัน เช่น พวกผึ้งกัดใบ ซึ่งมีพฤติกรรมช่วยกันดูแลตัวอ่อนและหาอาหาร เป็นต้น จากหลักฐานฟอสซิลชันโรงที่สหรัฐอเมริกา มีอายุประมาณ 80 ล้านปี ซึ่งอธิบายการเกิดวิวัฒนาการขึ้นเป็นลำดับจนถึงผึ้งสกุล Apis[6]

การปรับตัวเชิงวิวัฒนาการ[edit]

  • ด้านพฤติกรรมการสร้างรัง

เนื่องจากรวงผึ้งหลวงสามารถบรรจุสารอาหารได้หลายอย่าง ทั้งไขมัน โปรตีนจากตัวอ่อนและละอองเรณู และคาร์โบโฮเดรตจากน้ำผึ้ง เป็นต้น จึงมีการป้องกันรังจากผู้ล่าโดยการสร้างรังในที่สูงและมีขนาดใหญ่ นอกจานนี้โครงสร้างของรวงรังและการสร้างหลอดรวง(cells) ก็มีการใช้ไขผึ้ง(wax) ซึ่งช่วยให้ความแข็งแรงเช่นกัน

รวงรังของผึ้งหลวงที่พบตามธรรมชาติ
  • ด้านการคัดเลือกทางพันธุกรรม

ทำให้เกิดสังคม โดยการมีกลุ่มวรรณะที่มีจำนวนโครโมโซมเป็นแฮพลอยด์(n) ซึ่งก็คือ เพศผู้ และวรรณะที่เป็นดิพลอยด์(2n) คือ เพศเมีย ซึ่งเมื่อผสมพันธุ์แล้วจะวางไข่มีลูกออกมาได้หลายรุ่น เพศเมียรุ่นลูกจะช่วยเหลือแม่ในการดูแลตัวอ่อนรุ่นน้องๆต่อไปเป็นลำดับ จนมีวิวัฒนาการต่อไปถึงวรรณะทำงานของเพศเมียที่เป็นหมัน ทำหน้าที่เป็นกรรมกร(worker) ทำหน้าที่ทำงานเพียงอย่างเดียว และมีวรรณะสืบพันธุ์โดยเฉพาะ ทำหน้าที่สืบพันธุ์และวางไข่เท่านั้น

  • ด้านสัณฐานวิทยา

มีการสร้าง Pollen basket ซึ่งเป็นอวัยวะพิเศษที่ใช้เก็บละอองเรณู ซึ่งช่วยให้เกิดการผสมข้ามต้นเมื่อบินไปยังดอกไม้ต้นอื่นๆได้ [7]

References[edit]